นายพอล เอ.วัตเตอร์ อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแมสซี ประเทศนิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบของการโฆษณาความเสี่ยงสูงที่มีต่อค่านิยมของสังคมไทย พบว่า ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ละเมิดลิขสิทธ์ต้องเผชิญกับความเสี่ยง เนื่องจากโฆษณาจำนวนมากนั้นมีความเสี่ยงสูง อาทิ โฆษณาของอุตสาหกรรม ทางเพศ การพนัน มัลแวร์ (malware) และสแกม (scam) แม้จะมีการดำเนินการปราบปรามและป้องกันโฆษณา อันตรายทางด้านกฎหมายอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยกฎหมายที่ถูกนำมาใช้ อาทิ การออกกฎหมายพระราชบัญญัติเกม (พ.ศ.2478), กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี (พ.ศ.2539), การตรวจสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อ ป้องกันคนไทยจากกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ณ ปัจจุบัน
ทั้งนี้ ลักษณะการโฆษณาโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
1. โฆษณากระแสหลัก คือโฆษณาของธุรกิจที่ถูกกฎหมายซึ่งดำเนินการทางธุรกิจในระบบปกติ (Formal Economy) โดยธุรกิจดังกล่าวเป็นการทำงานตามรูปแบบโครงสร้างองคก์รมีการนำเสนอสินค้าและบริการ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมายใดๆ
2. โฆษณาความเสี่ยงสูง คือโฆษณาที่นำเสนอสินค้าและบริการที่อยู่นอกกรอบของระบบธุรกิจและเศรษฐกิจปกติ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายหรือเป็นสินค้าต้องห้ามในเขตอำนาจตามกฎหมายหนึ่ง แต่ไม่ผิด กฎหมายในเขตอำนาจอื่นๆ หรืออาจเป็นสินค้าเลียนแบบ อย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับเพศ, การพนัน และซอฟท์แวร์ หรือมัลแวร์ต้องสงสัย
“ล่าสุดเราได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อวัดระดับของปัญหาดังกล่าวในเอเชียแปซิฟิค ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน แคนนาดา อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พบว่าโฆษณาความเสี่ยงสูงมีแนวโน้มพุ่งเป้าหมายไปที่ กลุ่มเป้าหมายเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอคอนเทนต์ (content) ของฮอลลีวูดและคอนเทนตร์ะดับนานาชาติที่เป็น ภาษาอังกฤษ ในขณะที่โฆษณากระแสหลักมีแนวโน้มที่จะนำเสนอสินค้าและบริการของตนเองบนเว็บไซต์ที่ใช้ภาษา ในท้องถิ่นและนำเสนอคอนเทนต์ท้องถิ่นเป็นหลัก สำหรับในประเทศไทยเราได้ดำเนินการดาวน์โหลดเว็บเพจ ยอดนิยมรวม 430 เว็บเพจเพื่อนำมาวิเคราะห์พบว่า มีการเผยแพร่ทั้งโฆษณาทั่วไปและโฆษณาที่มี
ความเสี่ยงสูง โดยพบว่า 6.26% ของโฆษณาที่พบบนเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธ์ที่มีความนิยมมากที่สุด ในประเทศไทยเป็นโฆษณากระแสหลัก และ 93.74% เป็นโฆษณาความเสี่ยงสูง ซึ่งในโฆษณาความเสี่ยงสูง ทั้งหมด เป็นโฆษณาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางเพศ 62.22% และการพนัน 16.05%” นาย พอล เอ.วัตเตอร์ กล่าว
ด้านดร.จินตนันท์ ชญาตร์ศุภมิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครอง เด็ก กล่าวว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมักมีค่านิยมการตามอย่างดาราหรือการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยเกินฐานะ ทั้งนี้ การเปิดรับสารจากภาพยนตร์หรือโฆษณาทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ตลอดจนเกมออนไลน์ที่มีความรุนแรง รวมทั้ง การโฆษณาที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมที่รุนแรงก้าวร้าว และก่อให้
เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ตามสารของโฆษณาเหล่านั้น ทุกวันนี้การโฆษณาขาดความเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่า ของความเป็นมนุษย์ โดยการนำสิ่งเร้าใจทางเพศมาเป็นจุดหลักเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภค การโฆษณา หลอกลวงผู้บริโภคและส่งต่อความเชื่อที่ผิดๆ รวมถึงโฆษณาล้างสมองที่ทำให้เยาวชนเข้าใจว่าการที่มีอัตลักษณ์ใด อัตลักษณ์หนึ่งเท่านั้นจึงจะเป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งเยาวชนควรจะรู้เท่าทันสื่อ ดังนั้นทางมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก จึงได้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะสำหรับสื่อลามกเด็ก ซึ่งหากสามารถทำให้กฎหมายดังกล่าว เกิดขึ้นได้ ปัญหาที่รุนแรงในปัจจุบันจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
ในขณะที่นางศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า ในหลายประเทศ เด็กนักเรียนจะได้เรียนวิชารู้เท่าทันสื่อและโฆษณา ทำให้รู้ว่าสื่อและโฆษณาเป็นสิ่งที่มีคนสร้างขึ้น มีวัตถุประสงค์ ชัดเจน เช่น ให้ข้อมูล โน้มน้าวชักจูง สร้างค่านิยม เพิ่มยอดขายสินค้า ฯลฯ การรู้เท่าทันสื่อจึงเท่ากับเป็นการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และสามารถเลือกสิ่งที่ดีมีประโยชน์มากกว่าการเชื่อตามข่าวหรือ โฆษณาทั้งหมด รัฐบาลควรมีมาตรการสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับประชาชน ในขณะเดียวกันก็จะต้องจริงจังกับ การปราบปรามและควบคุมเนื้อหาที่ผิดกฏหมายหรือเป็นอันตรายบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะสื่อลามกอนาจาร และการละเมิดทางเพศเด็กนั้น มูลนิธิฯ มีไทยฮอตไลน์ www.thaihotline.org ทำงานร่วมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฮอตไลน์ INHOPE ซึ่งมีสมาชิก 51 แห่ง ใน 45 ประเทศ ในการรับแจ้งและประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อลบภาพเด็ก ออกจากอินเทอร์เน็ตและจับตัวผู้ละเมิดเด็กมาลงโทษ ประเทศไทยควรจะต้องมีกฎหมายที่ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ ในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศและระดับสากล
ทั้งนี้ หากทุกฝ่ายในสังคมไทยหันมาให้ความใส่ใจต่อปัญหาผลกระทบของโฆษณาที่ไม่เหมาะสมทางสื่ออนไลน์ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ปัจจุบันถือเป็นสื่ออันดับต้นๆ ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถรับสารได้ อย่างง่ายดายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน เราก็จะสามารถลดผลกระทบได้มาก โดยภาครัฐเองต้องกำหนด กฎหมายและโทษอย่างเข้มงวดและรุนแรง ในขณะที่ภาคเอกชนเองก็ต้องมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวที่ต้องสอดส่องดูแลให้ความเอาใจใส่ชี้แนะสิ่งที่ถูกที่ควรให้แก่เยาวชน ก็จะส่งผลให้ สังคมไทยจะเดินหน้าไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น