ไมโครซอฟท์ คอร์ป ได้ประกาศเปิดตัวบริการระบบคลาวด์ในรูปแบบใหม่ รวมถึงโซลูชั่นเคลื่อนที่ API เครื่องมือ และรายการพาร์ทเนอร์โซลูชั่นเพิ่มเติมในวันนี้ ที่งาน TechEd Europe ซึ่งผลงานทั้งหมดล้วนผ่านการคิดค้นเพื่อช่วยให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญในวงการไอทีและนักพัฒนา สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างโดดเด่นในโลกยุคปัจจุบันที่ระบบมือถือและคลาวด์ต่างเป็นที่หนึ่ง
“โลกปัจจุบันล้วนแล้วมีแต่การแข่งขัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและนักพัฒนาต่างตกอยู่ท่ามกลางแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวให้ทันกับความต้องการของภาคธุรกิจ” เจสัน แซนเดอร์ รองประธานของ Microsoft Azure จากไมโครซอฟท์ กล่าว “ขณะนี้เรากำลังใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ของเรา อันได้แก่ Azure, Office 365 และ Microsoft Dynamics เพื่อนำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ตลอดจนนักพัฒนา และเอ็นด์ยูสเซอร์”
นวัตกรรมจาก Azure ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานพร้อมยกระดับความปลอดภัย
ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวบริการระบบคลาวด์ เพื่อช่วยสร้างระบบอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านไอทีอย่างชาญฉลาด ที่งาน TechEd Europe ซึ่งรวมถึงบริการต่างๆ ดังนี้:
- Azure Operational Insights ผสมผสาน Azure, HDInsight และ Microsoft System Center เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องจักรที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์ พร้อมเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลเชิงลึก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงธุรกิจ โดยจะเปิดให้รับชมในเดือนพฤศจิกายน 2557
- Azure Batch เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถวางระบบงานขนาดใหญ่แบบ scale-out พร้อมเปิดการเข้าถึงแกนหลักหลายพันตัว เพื่อแก้ไขปัญหาซับซ้อนภายในเพียงไม่กี่คลิก และไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเปิดให้รับชมแล้ววันนี้
- Azure Automation ปรับระบบงานที่ใช้เวลานานให้เป็นอัตโนมัติในโปรแกรมของ Azure ภายใต้ภาวะแวดล้อมของบุคคลที่สาม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากกระบวนการที่ต้องใช้บุคลากรลงมือแบบซ้ำๆ ซึ่งเปิดให้บริการแล้วโดยรวม
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้นำเสนอผลงานด้านการยกระดับความปลอดภัย ที่เปิดให้บริการแล้ววันนี้ ใน Azure Virtual Machines และ Cloud Services ซึ่งรวมถึง:
- รองรับการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำอุปกรณ์เครือข่ายและความปลอดภัย เช่น โหลดบาลานเซอร์และไฟร์วอลล์ มาใช้ด้วยตนเอง
- New Network Security Groups ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการเข้าถึงเครือข่ายด้านความปลอดภัย และมอบระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับการบริหารทราฟฟิค
- Microsoft Anti-Malware for Virtual Machines and Cloud Services บริการที่นำเสนอระบบป้องกันภัยคุกคามแบบเรียลไทม์โดยไม่คิดค่าบริการ
ระบบบริหารจัดการการเคลื่อนที่ที่ครอบคลุมสำหรับองค์กรบนอุปกรณ์และข้อมูลเกือบทุกรูปแบบ
ไมโครซอฟท์ยังได้เปิดเผยรูปแบบการยกระดับระบบบริหารจัดการ ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และตอบรับการทำงานในบริการ Enterprise Mobility Suite และ Office 365 โดยคุณสมบัติที่ได้รับการยกระดับครั้งใหม่นี้ ส่งผลให้ระบบไอทีสามารถบังคับใช้นโยบาย คุ้มครองทรัพย์สินองค์กร และเสริมพลังให้กับพนักงานยุคปัจจุบันที่ต้องมีความพร้อมตลอดเวลา
- การอัพเดท Microsoft Intune การอัพเดทครั้งใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการแอพ Office บนมือถือได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งรวบรวมเทคโนโลยีบริหารจัดการเข้ากับแอพพลิเคชั่น line-of-business ของตนเอง เพื่อให้สามารถดูแอพบนมือถือได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมมอบฟีเจอร์การเข้าถึงแบบมีเงื่อนไข ที่ทำให้สามารถควบคุมทรัพยากรองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผ่านฟีเจอร์การเข้าถึงตามเงื่อนไข โดยจะเปิดให้บริการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
- ระบบ Mobile Device Management (MDM) แบบบิวท์-อิน สำหรับ Office 365 ระบบ Intune MDM ใหม่แบบบิวท์-อินสำหรับแอพ Office 365 บนอุปกรณ์ iOS, Android และ Windows Phone จะนำเสนอระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ตามโนบายให้แก่ผู้บริหาร รวมถึงช่องทางในการลบข้อมูลองค์กรเพื่อป้องกันการเข้าถึงและการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาตไปพร้อมๆกับการรักษาข้อมูลส่วนตัว โดยจะเปิดให้บริการในไตรมาสแรกของปี 2558
- การอัพเดท Azure Active Directory (AD) Premium Azure AD Application Proxy ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในช่วงสิ้นปี 2557 จะเปิดโอกาสให้สามารถลงแอพพลิเคชั่นแบบ on-premises ให้แก่ผู้ใช้ภายนอกผ่านระบบคลาวด์ ส่วน Azure AD Connect ซึ่งจะเปิดให้รับชมภายในสิ้นปี 2557 จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเชื่อมต่อทรัพย์สินแบบ on-premises เข้ากับระบบคลาวด์ และซิงค์ไดเร็คทอรี่เข้ากับ Azure AD
- การต่อยอดเทคโนโลยี Data Loss Prevention (DLP) บน Office 365 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ จะมีการเสริมเทคโนโลยี DLP เข้าไปใน SharePoint Online และ OneDrive for Business เพื่อคุ้มครองคอนเทนท์ที่อ่อนไหวบน Office 365 นอกจากนี้ในปี 2558 แอพ Office จะรองรับการแจ้งเตือน DLP เพื่อส่งข้อมูลแจ้งเตือนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูลอย่างทันท่วงทีให้แก่ผู้ใช้งาน
API และชุดเครื่องมือบน Office 365 สำหรับนักพัฒนา
ไมโครซอฟท์ยังได้เปิดตัว API และเครื่องมือใหม่ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึง Office 365 API และสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่เกี่ยวกับการผลิตที่เปี่ยมไปด้วยข้อมูลผ่านการใช้แพลตฟอร์ม เครื่องมือ และอุปกรณ์ตามความต้องการ
- Open API รุ่นใหม่สำหรับ Office 365 แพลตฟอร์ม API แบบ REST-based สำหรับเมล ไฟล์ ปฏิทิน และข้อมูลรายชื่อสำหรับการติดต่อ จะช่วยให้บรรดานักพัฒนา Android, iOS, Windows หรือนักพัฒนาเว็บ สามารถยกระดับคอนเทนท์ Office 365 ได้กว่า 400 เพตะไบต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการผลิตให้แก่ผู้ใช้ Office 365 หลายล้านคนทั่วโลก โดยเปิดให้บริการแล้ววันนี้ผ่าน Microsoft API Sandbox for Office 365
- ชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์มือถือ (SDK) แบบใหม่ เพื่อการพัฒนา native app เครื่องมือ SDK เหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเหล่านักพัฒนา ในการใช้งาน Office 365 API เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ ผ่านทางเครื่องมือและภาษาที่พวกเขาชำนาญ โดย iOS SDK แบบใหม่สำหรับ Xcode นั้นเปิดให้รับชมแล้ววันนี้ ส่วน SDK สำหรับ Android และ Visual Studio เปิดให้บริการแล้ว
- Office 365 App Launcher เป็นช่องทางการปรับแต่งใน Office 365 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอพที่ตนเองโปรดปราน โดยเหล่านักพัฒนาสามารถใช้งาน App Launcher เพื่อเพิ่มช่องทางการปรากฎตัวของแอพร่วมกับแอพอื่นๆอย่าง Outlook, Yammer และ OneDrive
นอกจากนี้ ผู้ใช้งาน Visual Studio Online ในยุโรป สามารถเลือกใช้ Azure Amsterdam Region ในโครงการของตนเอง พร้อมเก็บข้อมูลอันมีค่าของตนเองไว้ใกล้บ้าน
เพิ่มรายการคลาวด์พาร์ทเนอร์บนระบบนิเวศ
ไมโครซอฟท์ยังคงนำเสนอคลาวด์โซลูชั่นที่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากพาร์ทเนอร์รายใหม่ เช่น:
- เครือข่าย Cloud OS Network ที่ได้รับการต่อยอด ด้วยจำนวนพาร์ทเนอร์ที่ให้การสนับสนุนในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งเปิดการเข้าถึงสู่คลาวด์โซลูชั่นแบบไฮบริดในวงกว้างแก่ลูกค้า
- โปรแกรม Azure Certified for Application Services รุ่นใหม่ โปรแกรมในตระกูล Azure Certified ครอบคลุมถึงบริการด้านการบริหารจัดการ API และข้อมูล โดยลูกค้าสามารถเข้าถึงโซลูชั่นกว่า 50 รายการจากพาร์ทเนอร์กว่า 30 ราย ผ่าน Azure Marketplace ซึ่งรวมถึง New Relic, Cloudera, Hortonworks, CommVault, CoreOS, DataStax, NGINX และ Veeam