AIS ตอกย้ำนโยบายในฐานะผู้นำด้านDigital Life Service Provider มุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER โครงการที่มุ่งสร้างทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัล คัดสรรโซลูชัน และเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ทาง AIS ได้ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นกับการเปิดตัว Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) หรือ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ฉบับแรกของประเทศไทยซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น และเปิดให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าถึง TCWI เพื่อนำไปเสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่ม
ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index เป็นเครื่องมือที่สามารถบ่งบอกได้ว่าคนไทยมีความสามารถหรือทักษะด้านดิจิทัลได้อย่างถูกต้องมากน้อยขนาดได้ และสามารถใช้ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้คนไทยเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความเข้าใจ ทันโลกไซเบอร์
เพื่อให้คนไทยเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ AIS ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการดิจิทัล หรือ Digital Life Service Provide จึงได้ยกระดับโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ด้วยการจับมือกับหลายภาคส่วนเพื่อสร้าง Thailand Cyber Wellness Index ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ฉบับแรกของไทย โดยหวังว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น
นับตั้งแต่วันที่ดิจิทัลเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีการใช้ชีวิต AIS ก็เริ่มต้นโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตราย และผลกระทบจากการใช้งาน ควบคู่กับการพัฒนาโซลูชัน และบริการดิจิทัล เพื่อปกป้อง และส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย ซึ่งทาง AIS ได้ทำงานมานานกว่า 4 ปีแล้ว เพื่อจุดประกายสังคมให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์
จากการทำโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ AIS มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากโลกออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง
เพื่อให้พลเมืองดิจิทัลกลายเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ AIS จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล เพื่อระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็น Thailand Cyber Wellness Index ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย
สุขภาวะดิจิทัลถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สุขภาวะดิจิทัลระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement) เป็นระดับที่ผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีความรู้ไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงที่จะใช้งานในโลกไซเบอร์, สุขภาวะดิจิทัลระดับพื้นฐาน (Basic) ถือว่ามีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ และสุขภาวะดิจิทัลระดับสูง (Advanced) หมายถึงผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ และยังรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ อีกทั้งยังมีทักษะในการแนะนำให้คนรอบข้างมีความรู้ในโลกไซเบอร์ได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาที่น่าสนใจจากดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) ที่มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน ในปี 2566 พบว่าส่วนใหญ่ 44.04% มีสุขภาวะดิจิทัลในระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง และควรเร่งเสริมสร้างให้ความรู้พลเมืองดิจิทัลของไทย มีความเข้าใจและรู้ทันภัยไซเบอร์ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไม่เหมาะสม
ผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย แสดงให้เห็นว่าพลเมืองดิจิทัลของไทยส่วนใหญ่ ยังต้องได้รับการพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ซึ่งทาง AIS หวังว่า Thailand Cyber Wellness Index ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ฉบับแรกของประเทศไทย จะเป็นเหมือนเข็มทิศที่ช่วยให้หน่วยงานต่างๆ มองเห็นแนวทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ และเกิดประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับพลเมืองดิจิทัลของไทยให้มีสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับ Basic มากขึ้น หรือดีกว่านั้นก็คืออยู่ในระดับ Advanced เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการจาก AIS ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไทยนั่นเอง