โครงการ Swift Student Challenge เป็นการแข่งขันสร้างสรรค์แอป Playground ตามแบบฉบับของตนเองโดยใช้ภาษาการเขียนโปรแกรม Swift ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วงงาน Worldwide Developers Conference หรือ WWDC โดยในปีนี้มีผู้ชนะการแข่งขันจากทั่วโลกรวม 375 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ชนะจากประเทศไทย 7 คน ประกอบไปด้วยนักเรียนและนิสิตนักศึกษาที่ต่างมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาที่เรามักพบเจอในทุกๆ วัน โดยผู้ชนะโครงการ Swift Student Challenge ในปีนี้จะมีโอกาสได้เข้าร่วมเซสชั่นของ WWDC22 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการพัฒนาแอปด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากทีมวิศวกรของ Apple หากท่านสนใจสามารถเข้าร่วมชมการนำเสนอผลงานของผู้ชนะทั้ง 7 คนได้ที่ Apple Central World ในวันที่ 28 มิถุนายน 2023 เวลา 11:00-13:00 น.
ทำความรู้จักกับนักเรียนและนิสิตนักศึกษาที่ขนะโครงการ Swift Student Challenge
ชื่อ: ภานุวัฒน์ วงศ์พัฒนวุฒิ
โรงเรียน: โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: วิทย์-คณิต
ผลงาน: “Arkom” เป็นเกมแนวเอนด์เลสรันเนอร์ที่ผู้เล่นต้องหลบหลีกจากผีที่มาจากด้านบนของหน้าจอ เกมนี้ผู้เล่นสามารถพูดคำที่ปรากฎอยู่ด้านบนของหน้าจอได้ และมีตัวระบบรู้จำเสียงจาก Apple’s speech framework ที่ใช้ตรวจสอบว่าผู้เล่นสะกดคำได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าการสะกดคำตรงกับคำที่ปรากฏ ของสิ่งนั้นจะ เสกออกมาเพื่อโจมตีผีเหล่านั้น แรงบันดาลใจของโปรเจกต์นี้เกิดมาจากการเล่นเกมวิซาร์ดบนคอนโซล ผมคิดขึ้นที่จะสร้างเกมนายจอมเวทไทย หรือ หมอผี ในแนวเอนด์เลสรันเนอร์เพราะเป็นหมวดเกมโทรศัพท์มือถือที่ผมชื่นชอบมากที่สุด ในไม่กี่เดือนข้างหน้าผมก็จะเตรียมตัวสำหรับการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษและจะเข้ามัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ดังนั้นผมคิดค้นความคิดใหม่ขึ้นมาว่าหากผมรวมคำศัพท์เข้าไว้ในเกม มันอาจช่วยให้ผมจำคำศัพท์ได้มากขึ้นและสะกดมันได้อย่างถูกต้อง เพราะเหตุนี้ผมตัดสินใจที่จะทำโปรเจกต์นี้
ชื่อ: โชติวัฒน์ ตั้งสถาพร โรงเรียน: สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 4
สาขา: วิทย์-คณิต
ผลงาน: BUB เกิดจากประสบการณ์ที่ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้พิการทางสายตา ทำให้ผมได้รับรู้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ของพวกเขาคือ ความลำบากในการเดินทางด้วยรถเมล์ เนื่องจากบางครั้งการที่พวกเขาขอความช่วยเหลือและสอบถามเส้นทางกับผู้คนรอบข้าง คำตอบที่ได้รับกลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายใจ ผมจึงอยากช่วยเหลือพวกเขาโดยการทำแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา โดยแอปฯ นี้จะช่วยตามหาสายรถเมล์ที่ใกล้ที่สุดให้เรา เพียงแค่ระบุสถานที่ปลายทางด้วยเสียง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทางสายตาสามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้สึกสบายใจในการเดินทางด้วยรถเมล์มากขึ้น
ชื่อ: ศุภโชติ ตระการศิโรรัตน์
โรงเรียน: โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: สายวิทย์ สาขาวิศวกรรมทั่วไป
ผลงาน: Simply Cipher เป็นแอปพลิเคชั่นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ Cryptography (เครบโทกราฟฟี่) หรือวิทยาการเข้ารหัสลับ ซึ่งคือระบบการปกปิดข้อมูลด้วยการแปลงข้อความธรรมดาให้เป็นข้อความรหัสลับ ปัจจุบันมีมาแล้วหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น “รหัสซีซาร์” และ “รหัสลับแบบสับเปลี่ยน” แรงบันดาลใจของผมในครั้งนี้มาจากเนื้อหาคอร์สเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่ผมได้ศึกษามาครับ ซึ่ง Cryptography เป็นหัวข้อที่ลึกและอาจจะเข้าใจได้ยาก จึงทำให้ผมได้สร้างแอปนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนหรือผู้เล่นสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ง่ายครับ
ชื่อ: นนท์ปวิธ อินต๊ะแก้ว
โรงเรียน: ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: วิทย์-คณิต
ผลงาน: Color Master เป็นแอปในเชิงการศึกษาที่ช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกแห่งสี โดยมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่เบื่อกับการเรียน เช่น เครื่องมือ Interactive, เครื่องมือจำลองตาบอดสี นอกจากนี้ภายในแอปก็มีแบบฝึกหัดให้ผู้ใช้ลองทำหลังจากที่เรียนด้วยครับ และส่วนสุดท้ายคือการทดสอบอาการตาบอดสีเบื้องต้น — โดยแรงบันดาลใจของแอปมาจากตอนที่เรียนหัวข้อเรื่องแสงและการมองเห็นในวิชาฟิสิกส์ตอน ม.5 ส่วนใหญ่จะได้เรียนแต่เชิงทฤษฎีจึงเป็นไอเดียให้ทำแอปนี้ขึ้นมาครับ
ชื่อ: วงศ์ไกรวิชชญ์ ชื่นชมภู
โรงเรียน: สาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิศวกรรม-สถาปัตยกรรม-AI)
ผลงาน: จากความชอบของผมในการฟังเพลง Vocaloid ที่ใช้ซอฟต์แวร์สร้างเสียงร้องเพลง ผมจึงเกิดความคิดในการทำให้ Siri สามารถร้องเพลงได้ตรงคีย์ ตรงจังหวะ และให้ Siri ร้องเพลงที่ชอบ หรือเป็นพื้นที่ทดลองฝึกการแต่งเพลง จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชัน SiriSings ขึ้น จากการแข่ง Swift Student Challenge เมื่อปีก่อนหน้า ทำให้ผมได้เกิดความคิด และแรงบันดาลใจในการผสมผสานความชอบในด้านดนตรี กับการเขียนโปรแกรมเข้าด้วยกัน ทำให้ผมสร้างแอปพลิเคชันด้านดนตรีอย่าง MusicBar เพื่อแสดงข้อมูลเพลงที่กำลังเล่น ใน Status Bar ของ Mac และนำความรู้จากการสร้างสิ่งใหม่ๆ ส่งต่อน้องๆ ใน Swift Coding Club เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไปครับ
ชื่อ: ภิญฐ์สิตา เนียมอินทร์
โรงเรียน: สาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: Robotics
ผลงาน: SquareLand เป็นเกมที่ผสมผสานระหว่างคิด สมาธิ และความผ่อนคลาย โดยผู้เล่นจะต้องต่อแผ่นเกาะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ด้านที่เหมือนกันจึงจะต่อกันได้ ใช้เวลาในการเลือกและต่อแผ่นละ 30 วินาที ทั้งนี้ ในการเล่น จะมีการสุ่มแผ่นให้ผู้เล่นเลือก และทำเควสเพื่อเพิ่มโอกาสในการสุ่ม ผู้เล่นจะต้องคิดวางแผนการในการต่อแผ่นเกาะให้ได้ 18 แผ่น จึงจะชนะเกมได้ แรงบรรดาลใจของเกมนี้เกิดจากแนวคิดที่ว่า หากโดมิโน่ต่อ 2 ด้านที่เหมือนกัน ทำไมไม่มีการต่อ 4 ด้านที่เหมือนกันล่ะ โดยโปรเจกต์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง ได้เรียนรู้ ทดลอง และต้องขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ช่วยชักชวน และแนะนำให้ได้รู้จัก Swift ได้ร่วมก่อตั้งชมรม Swift Coding Club ด้วยกัน จนมีแรงฮึดให้ก้าวขึ้นมาเรียนรู้การเขียนโปรแกรมให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ชื่อ: พัชรดา เทวาดิเทพ
โรงเรียน: ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6
สาขา: Gifted Computer PLUS
ผลงาน: TEETHSTORY เป็นแอปพลิเคชันสำหรับเด็กอายุ 8-12 ปี ที่เน้นปลูกฝังการแปรงฟันที่ถูกต้องโดยนำเสนอเป็นรูปแบบเกม เพื่อให้เด็ก ๆ มี user experience ที่ดีที่สุดและอยากกลับมาใช้งานแอปพลิเคชั่นอีกด้วย 5 ฟังก์ชันที่สนุกและใช้งานง่าย
• Teeth Model : จำลองโมเดลฟันพร้อมบอกตำแหน่งที่ผู้ใช้งานต้องแปรง เพื่อให้แปรงฟันครบทุกซี่ • Song : ระหว่างแปรงฟันจะมีเพลงที่สนุกสนานเล่นคลอเพื่อให้การแปรงฟันไม่น่าเบื่อ • Progress Bar : กำหนดเวลาแปรงฟัน 2:30 นาที (American Dental Association) • Day n’ Night Levels : ในแต่ละเลเวล เด็กๆจะต้องเล่นสองครั้ง เพื่อให้ในหนึ่งวันแปรงฟันครบสองครั้ง • Story : หลังจากแปรงฟันสองครั้งจนครบหนึ่งเลเวล แอปพลิเคชันจะมีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับฟันของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง
และอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้ชนะการแข่งขัน Swift Student Challenge ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี่