Dragon Ball Super เป็นอนิเมะอีกเรื่องของญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเมื่อนำไปออกอากาศในต่างประเทศก็ต้องถูกแปลเป็นภาษาท้องถิ่น ซึ่งต้องมีการลงเสียงพากย์ใหม่ เพื่อให้ผู้ชมในแต่ละประเทศเข้าใจได้ง่าย แต่ด้วยความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ก็อาจทำให้อรรถรสหรือความสนุกจากฉบับดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีบางเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี แต่บางเรื่องก็ไม่ถูกใจ ส่วนจะมีเรื่องอะไรบ้าง เลื่อนลงมาอ่านกันได้เลย…
มุขตลก
Dragon Ball Super เวอร์ชันญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา มีมุขตลกที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นฉากเดียวกัน เนื่องจากความแตกต่างในวัฒนธรรมทำให้มุขตลกของคนญี่ปุ่น อาจไม่ตลกสำหรับชาวอเมริกัน ดังนั้น Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา จึงถูกสร้างขึ้นมาใหม่แต่ส่วนใหญ่จะขาดความเฉียบแหลม
เพลงประกอบ
Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา มีการแปลงเพลงประกอบจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ โดยหวังให้ผู้ชมชาวอเมริกันมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น แต่หลายคนกลับมองว่าไม่ต้องแปลภาษาแล้วร้องใหม่ก้ได้ เพียงแค่ขึ้นคำบรรยายก็พอแล้ว
คุณภาพกราฟิก
Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ออกอากาศช้ากว่าในญี่ปุ่น แต่มีเวอร์ชั่นที่บันทึกลงแผ่น Blu-Ray ออกวางจำหน่าย ซึ่งทำให้ภาพอนิเมชั่นมีคุณภาพสูงกว่าเวอร์ชั่นที่ออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์
บทสนทนา
ความแตกต่างทางด้านภาษาก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ Dragon Ball Super ระหว่างเวอร์ชันญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา มีบทสนทนาที่ไม่เหมือนกันแต่ก็เป็นเฉพาะบางฉาก อย่างเช่น บทสนทนาระหว่าง Vegeta กับ Cabba ที่ในเวอร์ชั่นญี่ปุ่น Vegeta เป็นการพูดกับตัวเอง ถึงสิ่งที่เขาคาดหวังจาก Cabba แต่ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ กลายเป็นว่า Vegeta พูดในสิ่งที่กำลังคิดออกมา
ปรับบทให้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่มากขึ้น
Dragon Ball Super เวอร์ชันญี่ปุ่น ออกอากาศในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ รับชม แต่ในเวอร์ชั่นสหรัฐอเมริกา ออกอากาศในช่วงเย็นจึงเหมาะสำหรับผู้ชมที่มีอายุมากกว่า ทำให้ Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ถูกเพิ่มการสบถและการเสียดสี เพื่อให้เหมาะกับผู้ชมและเข้ากับสถานการณ์ในช่วงนั้น
ความรุนแรงในการเบ่งพลังและโจมตี
Super Saiyan ต้องสร้างความเจ็บปวดให้กับตัวเองเพื่อข้ามขีดจำกัดของร่างกายให้มีพลังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนั้นตัวละครจะส่งเสียงกรีดร้องที่ทำให้ขนลุกสำหรับเวอร์ชันญี่ปุ่น แต่ในเวอร์ชั่นสหรัฐอเมริกาฉากเหล่านี้ถูกทำให้เบาลง ทำให้ความสมจริงถูกตัดทอนลงไปด้วย นอกจากนี้ ท่าทางการปล่อยพลัง ก็ถูกเรียกแตกต่างกันด้วย อย่างการเคลื่อนไหวของ Goku ที่นำมาสู่ตอนท้ายของซีรีส์ ถูกเรียกว่า Ultra Instinct ในเวอร์ชันญี่ปุ่น แต่ถูกเรียกใหม่ว่า Autonomous Ultra Instinct ในภาษาอังกษ
นักพากย์
Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ต้องให้เสียงตัวละครใหม่เนื่องจากต้องเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ และโดยปกติแล้วการให้เสียงตัวละครมักจะต้องใช้โทนเสียงที่อยู่ในระดับเดียวกับต้นฉบับ เพื่อให้มีความสมจริงมากที่สุด แต่ก็มีบางครั้งที่นักพากย์ชาวสหรัฐฯ ใช้น้ำเสียงที่แตกต่างจากต้นฉบับ ส่งผลให้ตัวละคร ฉาก และ การโต้ตอบ ขาดอรรถรสไปจากต้นฉบับ
นอกสคริปต์
มีบางฉากของ Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ที่นักพากย์ให้เสียงนอกสคริปต์ อย่าง ฉากที่ Goku และ Frieza ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับ Jiren ตามบทแล้วควรใช้คำว่า grunts แต่นักพากย์กลับให้เสียง alley oop! ซึ่งมีหลายคนมองว่าเป็นการลดความยิ่งใหญ่ของฉาก และทำให้ไกลจากต้นฉบับ
คาถาเชิญ Shenron
Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนคาถาเรียกเทพเจ้ามังกร หรือ Shenron จากเดิม “Come forth, Dragon of the Gods, and grant my wish pretty peas!” ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยน pretty peas เป็น peas and carrots ซึ่งยังไม่มีใครเข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องเปลี่ยน
ชื่อตัวละคร
Dragon Ball Super เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร เพื่อให้ฟังได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ชมในสหรัฐฯ อย่างตัวละครที่ชื่อ Toppo เหมือนกับขนมคุกกี้ที่เป็นที่นิยม แต่ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ถูกเรียกสั้นๆ ว่า Top ทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างชื่อกับขนมขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย
ที่มา – CBR
https://www.flashfly.net/wp/326838