ทีมนักวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Takuzo Aida จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ค้นพบวัสดุโพลีเมอร์ชนิดใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายแก้วหรือกระจก ถูกเรียกว่า polyether-thioureas มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถรักษาตัวเองได้ เพียงใช้มือกดเท่านั้น แตกต่างจากวัสดุชนิดอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความร้อนสูง 120 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในการซ่อมแซมรอยแตกร้าว
คุณสมบัติกระจกโพลีเมอร์ใหม่ที่สามารถรักษาหรือซ่อมแซมตัวเองได้ ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อนักศึกษาที่มีชื่อว่า Yu Yanagisawa ได้ใช้มือที่มีอุณอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส กดลงไปตรงส่วนขอบของโพลีเมอร์ และมันก็ยึดติดกันจนสร้างเป็นแผ่นที่มีความแข็งแรงขึ้นมา
การค้นพบใหม่นี้ อาจนำไปสู่การสร้างจอแสดงผลสำหรับสมาร์ทโฟนในอนาคต ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับรอยขีดข่วยบนจอแสดงผล
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการค้นพบวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ย้อนกลับไปในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นักเคมีจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งริเวอร์ไซด์ และมหาวิทยาลัยโคโลราโด ก็มีการค้นพบวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ สามารถถูกยืดออกได้ถึง 50 เท่า จากขนาดเดิม และในเดือนสิงหาคม Motorola ก็ประกาศว่าได้รับสิทธิบัตร จอแสดงผล ที่สามารถรักษาตัวเองได้
ที่มา – Engadget
http://www.flashfly.net/wp/203237