ซัมซุงจัดงานเปิดตัว “ซัมซุง เพย์ (Samsung Pay)” นวัตกรรมการชำระเงินรูปแบบใหม่อย่างเป็นทางการ ช่วยผลักดันประเทศไทยไปสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของรัฐบาล โดยมีภาครัฐ พันธมิตรทางการเงิน และร้านค้าชั้นนำเข้าร่วมงานเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานและสนับสนุนระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ผ่านสมาร์ทโฟน ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย และครอบคลุมมากที่สุด โดยผู้บริโภคไทยให้การตอบรับซัมซุง เพย์อย่างดีเยี่ยมหลังเปิดให้ใช้งานในไทยเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ซัมซุงพร้อมจะขยายพื้นที่การให้บริการระบบซัมซุง เพย์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เอื้อต่อการใช้งานของผู้บริโภคชาวไทยยิ่งขึ้น
นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงเริ่มให้ผู้บริโภคไทยได้ใช้งานซัมซุง เพย์ ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ผ่านสมาร์ทโฟน ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย และครอบคลุมมากที่สุด ตั้งแต่เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทางการเงินชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น มาสเตอร์การ์ด วีซ่า ธนาคารกรุงเทพ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกสิกรไทย เคทีซี ซิตี้แบงก์ และธนาคารไทยพาณิชย์ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนเพื่อให้บริการซัมซุง เพย์ได้อย่างสมบูรณ์จากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ นอกเหนือไปจากบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำข้างต้นแล้ว ซัมซุง เพย์ ยังรองรับ การใช้งานร่วมกับบัตรกาแลคซี่ กิฟท์ พรีเพดการ์ดที่ซัมซุงร่วมนำเสนอกับมาสเตอร์การ์ด รวมถึงบัตรสมาชิกของร้านค้าชั้นนำอีกจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ ซัมซุง เพย์จึงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคทั้งในแง่ความสะดวกสบายและความปลอดภัย เพราะผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องพกเงินสดหรือบัตรเครดิตหลายๆ ใบ ลดความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม และที่สำคัญที่สุด ซัมซุง เพย์ยังเป็นระบบการชำระเงินที่เข้ากับแนวคิดสังคมไร้เงินสดซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก”
“ซัมซุง เพย์ เป็นนิยามใหม่ของระบบการชำระเงินในเมืองไทย แม้ว่าแนวคิดกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet) จะเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศ แต่ซัมซุง เพย์ก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีจากผู้บริโภคหลังจากเปิดให้บริการเพียง 4 เดือน อย่างไรก็ดี ผลสำรวจล่าสุด[1] ชี้ให้เห็นว่าการใช้ระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการนั้นมีข้อดีทั้งในด้านความสะดวกสบายและปลอดภัย แต่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยมากกว่า โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้วิธีการชำระเงินผ่านระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลมากขึ้นเมื่อมั่นใจว่าระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้นมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับที่สูงมากพอ ซึ่งระบบการรักษาความปลอดภัยของซัมซุง เพย์นั้นได้รัยการยอมรับจากพันธมิตรการเงินชั้นนำมากมายว่ามีความปลอดภัยสูงมาก และพันธมิตรทางการเงินเหล่านี้ยังยินดีมอบสิทธิพิเศษเฉพาะผู้ใช้งานซัมซุง เพย์ ถือเป็นเครื่องรับประกันได้เป็นอย่างดี” นายวิชัยกล่าวเพิ่มเติม
มร. โทมัส โค รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจการชำระเงินระดับโลก ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ กล่าวว่า “เพราะซัมซุงตั้งใจนำเสนอแพลทฟอร์มการชำระเงินที่ทันสมัย รวมถึงระบบกระเป๋าดิจิทัลให้กับผู้บริโภคทั่วโลก เราจึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้แนะนำซัมซุง เพย์สู่ประเทศไทย เราใช้กลยุทธ์การนำเสนอบริการซัมซุง เพย์ที่ออกแบบสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เราใช้กับตลาดประเทศอื่นๆ เช่นกัน เราทำงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อผลักดันการใช้งานระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ที่ทั้งรวดเร็วและปลอดภัยในประเทศไทย และเราคาดหวังว่าซัมซุง เพย์ จะช่วยให้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคชาวไทยสะดวก ง่าย และรวดเร็วกว่าที่เคย”
ซัมซุง เพย์ การชำระเงินรูปแบบใหม่ผ่านสมาร์ทโฟน โดดเด่นด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่
1. ใช้ง่าย – หลังจากลงทะเบียนใช้งานซัมซุง เพย์ แล้ว เมื่อต้องการชำระเงินก็แค่หยิบสมาร์ทโฟนออกมาเลือกบัตรที่ต้องการ สแกนลายนิ้วมือยืนยันตัวตน และแตะสมาร์ทโฟนกับเครื่องรูดบัตร เพียงเท่านี้ก็สามารถจับจ่ายใช้สอยได้อย่างง่ายดาย
2. ปลอดภัย – อุ่นใจด้วยระบบโทเคน (Tokenization) ที่สร้างเลขบัตรดิจิทัล แทนการใช้เลขบัตรเครดิตจริงในการชำระเงิน ปลอดภัยขึ้นอีกขั้นด้วยระบบยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือทุกครั้งที่ชำระเงิน และ ระบบรักษาความปลอดภัยชั้นหนึ่งคือ ซัมซุง น็อกซ์ (Samsung Knox) ตู้เซฟที่ช่วยปกป้องข้อมูล ตั้งแต่ระดับฮาร์ดแวร์จนถึงซอฟต์แวร์ ซึ่งยังไม่มีผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใดทำได้
3. ครอบคลุมมากที่สุด – เพราะซัมซุง เพย์ รองรับเทคโนโลยี MST (Magnetic Secure Transmission) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับเครื่องรูดบัตรเครดิตที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย และยังรองรับเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบการจ่ายเงินอีกด้วย ไม่ว่าที่ใดที่รับบัตรเครดิต
ก็รองรับ ซัมซุง เพย์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใส่บัตรเครดิตได้มากสุดถึง 10 ใบ รวมทุกสิทธิประโยชน์ใน
เครื่องเดียว โดยไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าสตางค์หรือบัตรเครดิตให้ยุ่งยากอีกต่อไป
“ซัมซุงมีแผนจะเชิญชวนคนไทยให้มาใช้ซัมซุง เพย์ ผ่านการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เพื่อชี้ให้เห็นว่าซัมซุง เพย์ ไม่ใช่เพียงระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ แต่ยังเป็นไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายรูปแบบใหม่ของคนไทยที่สะดวกสบาย นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมต่างๆ จะมุ่งให้ความรู้ด้านความปลอดภัย อีกทั้งยังทำการสื่อสารการตลาด ณ จุดชำระเงิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน รวมถึงการจับมือกับสถาบันการเงินและร้านค้ารายใหม่เพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ใช้ซัมซุง เพย์” นายวิชัยเสริม
“ซัมซุงคาดหวังว่าการเปิดให้บริการซัมซุง เพย์ ในประเทศไทย จะมีส่วนสำคัญช่วยในการปฏิรูปประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมล้ำหน้า ที่จะมาปฏิวัติการจับจ่ายของคนไทย และสร้างสรรค์สังคมรูปแบบใหม่แบบสังคมไร้เงินสด สุดท้ายนี้ ซัมซุงคาดการณ์ว่าการใช้ซัมซุง เพย์ จะมีแนวโน้มเติบโตอย่างเนื่อง และซัมซุงยังวางแผนที่จะขยายการใช้งาน ซัมซุง เพย์ ให้ครอบคลุมบัตรทุกรูปแบบ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น บัตรพรีเพดรูปแบบอื่น นอกเหนือจากกาแลคซี่ กิฟท์ พรีเพดการ์ด และบัตรเดบิต” นายวิชัย กล่าวสรุป
คำกล่าวเปิดงาน โดย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• ซัมซุง เป็นบริษัทที่มีทัศนวิสัยกว้างไกล ทันต่อเหตุการณ์ประเทศไทยว่ากำลังก้าวสู่สมัยเศรษฐกิจ แบบดิจิทัล
• การที่ประเทศไทยจะทำตนให้เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลนั้น ไม่ใช่แค่ต้องมีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องมีระบบการชำระเงินที่เป็นดิจิทัลอีกด้วย ซึ่งระบบการชำระเงินนี้ กระทรวงการคลังกำลังดูแลให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอยู่เช่นกัน
• คณะกรรมการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความพยายาม ต้องการลดการใช้เงินสดมาสักระยะแล้ว แต่ทว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องมาจากว่าการจะลดการใช้เงินสดนั้น ต้องอาศัยหลายหน่วยงานมาทำงานร่วมกัน
• ด้วยเหตุนี้กระทรวงจึงสร้างอีเพย์เมนท์ หรือ อีเพิร์ซ (e-purse) กระเป๋าเงินแบบดิจิทัล และเมื่อเงินนำใส่กระเป๋าเงินแบบดิจิทัลได้แล้ว ก็จะต้องสามารถนำเงินในกระเป๋าเงินแบบดิจิทัลไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย
• ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้มีการทำระบบพร้อมเพย์ขึ้น เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคม ไร้เงินสด ตอนนี้รัฐบาลกำลังทำการคัดเลือกกลุ่มบุคลากรที่จะมาเป็นตัวช่วยในการผลักดันนโยบาย ซึ่งกลุ่มบุคลากรเหล่านี้จะต้องติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิตให้ครบทุกร้านของตนเองทั่วประเทศ แม้กระทั่งร้านเล็กๆ ก็จะต้องมีเครื่องรูดบัตรเครดิต รองรับต่อนโยบาลของรัฐบาล แม้กระทั่งการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็กก็จะต้องมีเครื่องรูดบัตร รองรับต่อนโยบาลสังคมไร้เงินสดของรัฐบาล สาเหตุหลักเป็นเพราะว่า หลักจากที่ร้านค้าขนาดเล็กเหล่านี้ปิดทำการในแต่ละวันแล้วก็จะต้องนับเงินสดเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สะดวกและความผิดพลาดได้
• เพราะฉะนั้นปัจจัยสำคัญในการจะทำให้นโยบาลการลดการใช้เงินสดสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ คือ
o มีสถานที่รองรับการใช้เงินแบบดิจิทัล คือมีเครื่องรูดบัตรรองรับทุกร้าน
o ร้านต้องไม่ไม่คิดเงินเงินรูดบัตรเพิ่มแพงจนเกินไป อาทิเช่น ถ้าค่าอาหารรวมเป็นเงินทั้งหมด 20 บาท ร้านค้าจะเก็บเงินค่ารูดบัตรจากลูกค้าเพิ่มอีก 20 บาท รวมเป็นเงิน 40 บาท ซึ่งมีราคาแพงไม่สมเหตุผลไม่ได้
• นอกจากนี้การลดการใช้เงินสด และริเริ่มการใช้เงินแบบดิจิทัลจะมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์มากมาย คือ
o ผู้ใช้เงินแบบดิจิทัลจะสามารถประหยัดเงินของตนเอง
o ได้รับความสะดวกในการใช้จ่าย
o นอกจากนี้การทำธุรกรรมทางการเงินแบบดิจิทัล ยังช่วยให้ประชาชนเข้าสู่บริการทางการเงินง่ายขึ้น สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทั้งหมดทุกอย่างภายในสถานที่เดียว
o ช่วยให้ประชาชนและผู้ใช้เงินแบบดิจัลจัดการเรื่องการจ่ายภาษีของตนเองได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
o สามารถช่วยให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ยากไร้
o ป้องกันการคอร์รับชั่น เพราะในขณะนี้ตอนนี้โกงเงินรัฐบาลมีสาเหตุมาจากการใช้เงินสด
• ความพิเศษของเครื่องรูดบัตร ที่รองรับการจ่ายเงินแบบอิเลคโทรนิคส์ นั้นช่วยให้ผู้ใช้อ่านข้อมูลธุรกรรมกางเงินของตนในสมาร์ทโฟนได้ มีการใช้ลายนิ้วมือยืนยันการจ่ายเงิน ทำให้เกิดการป้องกันการโจรกรรม ทางการเงินได้ นอกจากนี้ซัมซุงเพย์ยังใช้แค่สมาร์ทโฟนเพียงแค่เครื่องเดียวไม่จำเป็นต้องใช้บัตรหลายใบ ลดความวุ่นวายในการค้นหาบัตรได้ และเครื่องรูดบัตรที่รองรับระบบการจ่ายเงินแบบอิเลคโทรนิคส์ของซัมซุงเพย์ยังสามารถพิมพ์ใบเสร็จได้เหมือนการรูดบัตรธรรมดาได้อีกด้วย
• ซัมซุงเพย์ใช้ง่าย ปลอดภัย ครอบคลุมมากที่สุด
คำกล่าว นางสาว สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคแห่งการมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมการทำธุรกรรมแบบอิเล็กทรอนิกส์จะกลายมาเป็นช่องทางการหมุนเวียนเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนถนนที่นำพาความเจริญสู่สังคม หมู่บ้านให้ทั่วถึง
เราจะเห็นได้ว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยมีการมุ่งเน้น การโทรคมนาคม และธุรกิจแบบ Start Up เป็นอย่างมาก ซึ่งการมุ่งเน้นเช่นนี้รัฐบาลทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
นอกจากนี้ในขณะนี้ประเทศไทยยังมีผลสำรวจว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 20 ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเหล่านี้ และการทำธุรกรรมการเงินแบบอิเลคโทรนิคส์เช่นนี้จะช่วยให้ประเทศไทยมีระบบการจ่ายเงินที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ตอนนี้ทางรัฐบาลมีระบบพร้อมเพย์ และยังจะมีโครการสานต่อการพัฒนามากมาย รวมถึงโครงการส่งเสริมธุรกิจที่ใช้ระบบฟินเทค (FinTech) เพื่อการให้เกิดการใช้งานได้อย่างหลากหลาย
ทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงิน
· รัฐบาลมีโครงการที่ต่อยอดระบบพร้อมเพย์
· มีแผนการพัฒนา QR Code Technology
· นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริม และพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่
· เน้นเรื่องความปลอดภัยในการชำระเงิน Cyber Security ตามมาตรฐานสากล
· ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ด้านธุรกรรมทางการเงิน
ผู้บริโภคที่สนใจใช้งานระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตรูปแบบใหม่ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย และครอบคลุมมากที่สุด สามารถลงทะเบียนใช้งานซัมซุง เพย์ ได้ ณ สถานที่จัดงาน หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.samsung.com/th/samsungpay