การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ หรือการข่มขู่คุกคามด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล กลายเป็นประเด็นที่ต้องเอาจริงเอาจังในปัจจุบัน เด็กจำนวน 1 ใน 4 ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 12 และ 17 ปี มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ
ผลที่ตามมาอาจจะร้ายแรง เช่น เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เข้าสังคมและเงียบขรึม ไม่มีความสุขกับการเรียน อาจจะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว ซึมเศร้า หรือมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเอง แต่ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะต้องพบเหตุการณ์กลั่นแกล้งลักษณะนี้ ผู้ปกครองหลายคนก็สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้โดยการอยู่ข้างๆ เด็กในเวลาที่เด็กต้องการและพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
จิมมี่ ฟง ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “แคสเปอร์สกี้ แลป อยากให้ผู้ปกครองได้รับรู้ว่าการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์คืออะไร สัญญาณแรกของการถูกกลั่นแกล้งเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการรับมือกับปัญหาได้อย่างไร ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายเสมือนจริง แต่ก็ไม่สามารถจัดการภัยคุกคามทุกเรื่องได้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว”
บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถหยุดหรือห้ามได้ด้วยวิธีง่ายๆ และการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามการที่เราไม่สามารถป้องกันเด็กจากภัยคุกคามนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราช่วยพวกเขาไม่ได้ แคสเปอร์สกี้ แลปได้ทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาเด็กจากทั่วโลกที่จะให้คำแนะนำร่วมกันที่ว่าเราช่วยเหลือเหยื่อของการข่มขู่ออนไลน์ได้อย่างไร
ลิซ่า ไวร์ท ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Webiket.com ศึกษาการต่อต้านการข่มขู่ทางไซเบอร์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตไว้ว่า “โปรดจำไว้ว่า ต้องสร้างความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างจริงจัง ก่อนจะนำไปสู่ขั้นตอนแรกในการจัดการกับสถานการณ์การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และจะต้องปฏิบัติตามวิธีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกลยุทธ์ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งการกลั่นแกล้งไซเบอร์และสถานะทางอารมณ์ของเด็ก”
คำแนะนำเพิ่มเติม
อยู่เคียงข้างเด็กๆ โดยปราศจากอคติ คำตัดสิน และรักที่จะยอมรับ ในขั้นตอนนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่ว่าเด็กๆ จะทำอะไรไปแล้ว คุณจะอยู่ข้างเขาเสมอเพื่อเป็นกำลังใจ
อย่าปล่อยให้สถานการณ์แย่ลงไปกว่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็กๆ ในขณะนี้ เด็กๆ จะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้ในสภาพทางอารมณ์ที่อ่อนไหว ดังนั้น ควรให้เขาได้รู้ว่าคุณเข้าใจความรุนแรงของสถานการณ์และความทุกข์ของพวกเขาอย่างบริสุทธิ์ใจ
ยังไม่ควรพูดคุยแบบโดยใช้เหตุผล อย่าให้แนะนำเด็กๆ ว่าอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ยั่วยุ ถึงแม้ว่ามันจะถูกต้องก็ตาม มันอาจจะสร้างกำแพงและมันจะทำให้เด็กปักใจเชื่อว่าคุณไม่เข้าใจ
ควมเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งที่จำเป็น มันสำคัญตรงที่ว่าเด็กๆ จะเข้าใจว่าคุณรู้สึกเหมือนที่เขารู้สึก และอธิบายว่าคุณต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่คล้ายๆ กัน ซึ่งอาจจะไม่เฉพาะในโลกของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่เป็นการเผชิญหน้ากันและกัน และนั่นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เราไม่แนะนำให้คุณเดือดร้อนมากขึ้นหรือว่าพบความเข้มแข็งในการรับมือด้วยตัวคุณเอง พูดง่ายๆ ก็คือคุณต้องการอะไรในขณะที่มีใครสักคนที่จะรับฟัง เพื่อให้เข้าใจ และจะได้อยู่กับคุณ
กว่าที่คุณได้รับความเชื่อใจจากเด็กๆ อาจต้องใช้เวลาและไม่ควรรีบร้อน คุณถึงจะสามารถเริ่มต้นพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่าไปคาดเดาว่าเด็กๆ จะพูดอะไร ปล่อยให้เขาเริ่มพูดและเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ด้วยตัวของเขาเอง มันเป็นสิ่งสำคัญที่เด็กๆ จะต้องจัดการภาระเหล่านี้ด้วยตัวเอง
แนวทางสรุปของ คารอล มูลเลน นักจิตวิทยาทางไซเบอร์ ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ ระบุว่า “การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์เป็นปัญหาที่ซับซ้อนที่ต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย กลวิธีที่จะสนับสนุนอารมณ์ความรู้สึกของเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก ในระยะสั้นๆ ยังมีเคล็ดลับการปฏิบัติเพื่อช่วยให้เด็กผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดไปในทางบวกโดยไม่ต้องหันไปพึ่งการกระทำที่อาจเป็นปัญหาที่รุนแรง วัตถุประสงค์ในระยะยาวคือการช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้เด็กสามารถรับมือกับประสบการณ์ที่เป็นปัญหาทางสังคม โดยปราศจากอันตรายทางด้านจิตใจ แต่ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครองที่จะได้รับความไว้วางใจจากเด็กเพื่อให้เด็กสามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้ฟัง ซึ่งจะช่วยพัฒนาวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้”
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ต่อต้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้ แลปได้เปิดตัวเว็บพอร์ทัล “Words Can Save” www.wordscansave.me ที่มีข้อมูลปัญหาและคำแนะนำแก่ผู้ปกครองเมื่อเห็นสัญญาณทางอ้อมของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในเด็ก เว็บไซต์นี้ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าการที่ได้อยู่ใกล้ชิดและคอยสนับสนุนเด็กๆ ด้วยคำพูดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญขนาดไหน