ดีแทคได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ ทั้งลูกค้า คู่ค้า และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความช่วยเหลือโดยตรง และการสนับสนุนร่วมมือกับภาครัฐ ตลอดจนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลืออื่นๆ โดยที่ผ่านมามีมาตรการดังต่อไปนี้
มาตรการป้องกัน และแก้ไขโครงข่ายดีแทคดีแทคได้เตรียมมาตรการในการป้องกันสถานีชุมสาย และสถานีฐาน รวมทั้งเตรียมแผนรองรับกรณีฉุกเฉินในกรณีที่วิกฤตน้ำท่วมอาจส่งผลกระทบต่อ การให้บริการของดีแทค ดังนี้
1. ป้องกันสถานีชุมสายหลักในเขตกรุงเทพฯ ด้วยผนังคอนกรีตกั้นน้ำ พร้อมกระสอบทราย และปั๊มน้ำกำลังสูง เพื่อให้โครงข่ายยังคงสามารถทำงานได้แม้จะมีน้ำท่วมในบริเวณนั้น
2. มีการประสานงานตลอดเวลากับการไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีการจ่ายไฟฟ้าให้กับชุมสายอย่างต่อเนื่องในกรณีที่ต้องมีการตัด กระแสไฟฟ้าบางส่วนในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม
3. สำหรับกรณีฉุกเฉินได้มีการเตรียมน้ำมันสำรองไว้ประมาณ 4,000 – 10,000 ลิตร ต่อสถานีสำหรับในกรณีที่มีการตัดกระแสไฟฟ้า โดยสถานีจะสามารถดำเนินการเพื่อให้บริการโครงข่ายสื่อสารต่อเนื่องได้หลัง จากที่มีการตัดกระแสไฟฟ้า
4. มีทีมวิศวกรคอยตรวจสอบ และดูแลโครงข่ายตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายใน และภายนอกเพื่อควบคุมคุณภาพของการให้บริการ
5. ดีแทคจัดเตรียมรถโมบายล์เคลื่อนที่พร้อมเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้บริการโครงข่ายสื่อสารในกรณีฉุกเฉินมาตรการช่วยเหลือลูกค้า และประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยน้ำท่วม
- ดีแทคได้เติมเงินให้ลูกค้าแฮปปี้รายละ 30 บาท รวม 840,000 ราย ใน 7 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25 ล้านบาท
- ดีแทคได้นำทีมพนักงานเดินทางไปยังศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัด อยุธยาเพื่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โทรฟรี เติมเงิน ชาร์จแบตเตอรี่ให้ประชาชน และให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมบรรเทาทุกข์ เช่น การลงทะเบียนผู้ประสบภัย ดูแลการแจกจ่ายสิ่งของ และจัดเตรียมถุงยังชีพมอบให้แก่ผู้ประสบภัยทีมพนักงานดีแทค โดยได้ร่วมกับทีมงานของสถานีวิทยุ “ร่วมด้วยช่วยกัน” ลงพื้นที่เพื่อนำถุงยังชีพไปมอบให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อน ตลอดจนให้บริการเติมเงินแก่ลูกค้าในจุดที่ประสบภัยหลาย ๆ จุดในจังหวัด
- ดีแทคบริการใจดีให้ยืม *100 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วมช่องทางฉุกเฉินอีกช่องทางสำหรับ ลูกค้าแบบเติมเงินหรือแฮปปี้ สามารถยืมค่าโทรไปใช้ก่อนได้เมื่อค่าโทรหมดในสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านทางบริการ ใจดีให้ยืม *100 ที่ใช้บริการจากมือถือได้ทันที โดยลูกค้าที่ใช้บริการตั้งแต่ 12.00 น. วันที่ 9 ต.ค. จนถึง 31 ต.ค.นี้แฮปปี้จะยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการให้ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างต่อเนื่อง
- ดีแทคยืดระยะเวลาชำระค่าบริการรายเดือนสำหรับลูกค้าดีแทคประเภทรายเดือนออกไป
- ดีแทคยังคงมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนมาตรการเพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในพื้นที่ ตลอดจนพร้อมร่วมสนับสนุนมาตรการการเยียวยาและพื้นฟูต่างๆ หลังน้ำลด หรือการหาแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวต่อไป
นอกจากนี้ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดีแทคยังได้เข้าร่วมกับ บมจ. ทีโอที และผู้ประกอบการอื่นๆ ในการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องจากผู้ประสบภัย 1111 กด 5 ของ ศปภ. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคนป่วยและคนชรา ซึ่งในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการของศูนย์แห่งนี้มากกว่า 2 แสนราย ในส่วนของดีแทคเองก็ได้ร่วมกับมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากสายด่วน 1678 ที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรับข้อมูลจากผู้ประสบภัยและส่งต่อข้อมูลให้กับภาครัฐต่อไป
มาตรการช่วยเหลือพนักงานและครอบครัว
1. กรณีน้ำเข้าบ้าน มีทรัพย์สินเสียหาย สามารถแจ้งเพื่อเคลมประกันภัยได้
2. พนักงาน หรือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบอย่างกะทันหัน และไม่สามารถออกจากพื้นที่น้ำท่วมได้ สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ โดยเจ้าหน้าที่สายด่วนจะประสานไปยังหน่วยงานสาธารณภัยในพื้นที่ และจะคอยติดตามความคืบหน้าจนกว่าผู้ประสบภัยจะได้รับความช่วยเหลือ
3. กรณีที่ได้รับแจ้งจากพนักงานที่ต้องอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม อันเนื่องจากมีเหตุผลจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัทฯ จะพยายามส่งน้ำ อาหาร และสิ่งของจำเป็นเข้าไปให้กับพนักงาน แต่ทั้งนี้ การเข้าไปในพื้นที่จะต้องขึ้นกับคำสั่ง และความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมพื้นที่นั้นๆ
4. พนักงาน และครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หากไม่มีที่พักอื่น สามารถเข้าพักได้ในสำนักงานของบริษัทฯ คือ ดีแทคเฮ้าส์ จามจุรีสแควร์, รังสิตคลอง 5 และศรีนครินทร์ โดยบริษัทฯ ได้เตรียมเครื่องนอน อาหาร และน้ำไว้จำนวนหนึ่ง
5. พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ลากิจ ในกรณีลาหยุดเนื่องจากน้ำท่วมได้ โดยแจ้งหัวหน้างานให้รับทราบล่วงหน้า ยกเว้นพนักงานที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในระหว่างนั้น